วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

ผลไม้สมุนไพร



      ปัจจุบันสมุนไพรเป็นที่นิยมมากในหมู่ผู้คนไม่ว่าจะในไทยหรือต่างประเทศ เพราะได้รับรู้ผลดีของสมุนไพรใกล้ตัว และข้อเสียของยาแผนปัจจุบันมากขึ้น เช่นผลไม้ต่างๆ ที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ สมัยก่อนผู้คนนิยมนำมาปรุงเป็นยารักษาโรคต่างๆและเป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa paradisiacal L.Var. sapientum O.Ktze

วงศ์ : MUSACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrullus lanatus Mats & Nakai

วงศ์ : CUCURBITACEAE
กล้วย แตงโม 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artocarpus heterophyllus Lam.

วงศ์ : MORACEAE
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Psidium guajava Linn.
ชื่อสามัญ : Guava
ขนุน ฝรั่ง 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carica papaya Linn

วงศ์ : CARICACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Averrhoa carambloa Linn.

วงศ์ : AVERRHOACEAE
มะละกอ มะเฟือง 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus maxima Merr.

วงศ์ : RUTACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ananas comosus (Linn.) Merr.

วงศ์ : BROMELIACEAE
ส้มโอ สัปปะรด 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Garcinia mangostana Linn
วงศ์ :  Guttiferae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mangifera indica Linn.

วงศ์ : ANACARDIACEAE
มังคุด มะม่วง 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Punica granatum Linn.

วงศ์ : PUNICACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Annona squamosa Linn.

วงศ์ : ANNONACEAE
ับทิม น้อยหน่า 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bouea macrophylla Griff.

วงศ์ : ANACARDIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cocos nucifera Linn.

วงศ์ : PALMAE
มะปราง มะพร้าว 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Litchi chinensis Sonn..
วงศ์ SAPINDACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dimocarpus longan Lour.

วงศ์ : SAPINDACEAE
ลิ้นจี่ ลำใย 
ชื่อไทย: ส้ม
ชื่อวิทยาศาสตร์: Citrus sinensis Osb.
ชื่อไทย:                   ลางสาด
ชื่อวิทยาศาสตร์:      Lansium domesticum Corr.
ส้ม ลางสาด 

น้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ



น้ำกระเจี๊ยบ
      ส่วนผสม
- กระเจี๊ยบแห้ง 1/2 ถ้วย
- น้ำตาลทราย 2 ถ้วย
- เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำสะอาด 5 ถ้วย      วิธีทำ
1.ล้างกระเจี๊ยบ 1 ครั้งให้สะอาดพักไว้
2.ใส่น้ำลงในหม้อ ตั้งไฟพอเดือด ใส่ กระเจี๊ยบต้มจนออกสีแดง และเนื้อกระ เจี๊ยบนุ่ม กรองเอาแต่น้ำ ขึ้นตั้งไฟต่อ
3.ใส่น้ำตาล เกลือป่น เคี่ยวไฟอ่อน จนน้ำตาลละลายหมด ยกลง ทิ้งไว้ให้ เย็น เทใส่ขวดแช่เย็น หรือใส่น้ำแข็ง ดื่มก็ได้


 
น้ำบัวบก
       ส่วนผสม
- ใบบัวบก 2 ถ้วย
- น้ำสะอาด 2 ถ้วย
- น้ำเชื่อม 1/2 ถ้วย
- น้ำแข็ง       วิธีทำ
นำใบบัวบกที่สด ๆ ใหม่ ๆ ล้างน้ำให้ สะอาด แช่ด่างทับทิม 15-20 นาที ใส่ เครื่องปั่น เติมน้ำพอควร กรองด้วยผ้าขาว บาง เติมน้ำเชื่อม พอหวาน ชิมรสตามใจ ชอบ จะได้น้ำใบบัวบกสีเขียวใส น่ารับ ประทาน เมื่อจะดื่มใส่น้ำแข็งบดละเอียด รสหอมหวานชื่นใจ ดื่มแก้อาการกระหาย น้ำ


น้ำกล้วยหอม

      ส่วนผสม
- กล้วยหอมหั่นท่อนสั้น 1 ถ้วย
- นมสด 3 ช้อนโต๊ะ
- น้ำเชื่อม 1/2 ถ้วย
- เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
- น้ำต้มสุก 1 ถ้วย
- น้ำแข็งบด 1 ถ้วย      วิธีทำ
1.ใส่กล้วยหอม นมสด น้ำเชื่อม เกลือ ป่น น้ำแข็ง และน้ำต้มลงในโถปั่น ปั่น ให้เข้ากันดี
2.เทใส่แก้วทรงสูง เสริ์ฟพร้อมหลอด ดูดและไม้คน หรือแช่เย็นไม่ใส่น้ำแข็ง



 
น้ำมะนาว

       ส่วนผสม
- น้ำมะนาว 1 ถ้วย
- น้ำตาลทราย 1 ถ้วย
- เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
- น้ำสะอาด 1 ถ้วย       วิธีทำ
1.ทำน้ำเชื่อม โดยผสมน้ำตาลและน้ำ ตั้งไฟให้ละลาย ทิ้งไว้ให้พออุ่น ๆ
2.ใส่น้ำมะนาว เกลือ ลงในน้ำเชื่อม คนให้ เกลือละลาย
3.ตักเสิร์ฟแบบอุ่นหรือเย็นก็ได้ โดยใส่น้ำแข็งลงในแก้ว เทน้ำมะนาวใส่ แต่งด้วยมะนาวฝาน และสะระแหน่



น้ำข้าวโพด
      ส่วนผสม
- เมล็ดข้าวโพดสวีท 1 ถ้วย
- น้ำต้มสุก
- เกลือป่น
- น้ำมะนาว
- น้ำเชื่อม      วิธีทำ
เลือกข้าวโพดพันธุ์ซุปเปอร์สวีทแท้ ๆ ที่ยังอ่อนอยู่และเก็บมาสด ๆ นำฝักข้าว โพดลวกน้ำแกะเมล็ดข้าวโพดออก ใส่ เครื่องปั่น เติมน้ำต้มสุก ปั่นให้ละเอียด กรองด้วยผ้าขาวบาง เอากากออก เติม เกลือป่น เติมน้ำมะนาว ปรับพีเอชให้ได้ ประมาณ 6.5-6.8 เติมน้ำเชื่อม ชิมรส ดูตามใจชอบ กรองด้วยผ้าขาวบางอีก ครั้งหนึ่ง ใช้ดื่มได้
 
น้ำว่านหางจระเข
       ส่วนผสม
- ใบว่านหางจระเข้ 2 ใบ
- น้ำต้มสุก 1 ถ้วย
- น้ำเชื่อม 1/3 ถ้วย       วิธีทำ
เลือกใบว่านหางจระเข้ ที่มีขนาดใหญ่ โต เต็มที่ ปอกเปลือกล้างน้ำให้หมดยางสีเหลือง ใส่เครื่องปั่น เติมน้ำต้มสุก ปั่นให้ละเอียด กรองด้วยผ้าขาวบาง เติมน้ำเชื่อมเล็กน้อย ใส่ขวดเก็บไว้ในตู้เย็น ควรเตรียมดื่มไม่เกิน 2 วัน



น้ำดอกคำฝอย

      ส่วนผสม
- ดอกคำฝอย 1 กรัม
- น้ำต้มสุก 1 ถ้วย
- น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ      วิธีทำ
เลือกดอกคำฝอยใหม่ ๆ จะมีสีแดงสด มีกลิ่นหอม ถ้าเป็นดอกที่เก่าเก็บจะมีสี แดงอมน้ำตาล กลิ่นไม่หอม ชงด้วยน้ำ เดือด ปิดฝาทิ้งไว้ 3-5 นาที กรองด้วย ผ้าขาวบาง จะได้น้ำดอกคำฝอยสีเหลือง ส้ม เติมน้ำตาลทราย ดื่มเป็นครั้งคราว



 
น้ำส้มแขก
       ส่วนผสม
- ส้มแขกตากแห้ง 1 ถ้วย
- น้ำสะอาด 8 ถ้วย
- น้ำตาลทราย 1-2 ถ้วย
- เกลือป่น 2-3 ช้อนชา        วิธีทำ
เลือกส้มแขกที่ตากแห้งใหม่ๆ ต้มกับน้ำ ต้มเคี่ยว 10 นาที แล้วกรองเอากากออก เติมน้ำตาลทราย เกลือป่น ชิมรสตามต้อง การ จะได้น้ำส้มแขกสีน้ำตาลแดง รสเปรี้ยว อมหวานเค็มเล็กน้อย


เก็บสมุนไพรใช้เป็นยา

วิธีการเก็บสมุนไพรส่วนที่ใช้เป็นยา
"พืชสมุนไพร" มีมากมาย บางทีก็อาจจะเอาเปลือกของลำต้นมาใช้ประโยชน์
ในการทำเป็นยาหรือบางชนิดก็เอาดอกมาทำเป็นยา แต่บางอย่างอาจจะต้องใช้ใบก็ได้
หรืออาจจะเอาส่วนของรากมาทำเป็นยาก็มีด้วยเหตุนี้เองการเลือกส่วนที่จะเอา
มาใช้ประโยชน์จึงมีความสำคัญมากเช่นเดียวกัน จะเก็บอย่างไรจึงจะถูกวิธี
หรือทำให้คุณค่าทางยามากที่สุดไม่เสียหายสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งเห็นจะได้แก่
"ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเก็บ "พืชสมุนไพรเอามาเป็นยา" นั้นเอง
การเก็บส่วนของพืชสมุนไพรเอามาทำเป็นยานั้นถ้าเก็บใน
ระยะเวลาที่ไม่เหมาะก็มีผลต่อการออกฤทธิ์ในการรักษาโรคของสมุนไพร
ได้นอกจากจะต้องคำนึงถึงเรื่องช่วงเวลาในการเก็บยาเป็นสำคัญแล้ว
ยังจะต้องคำนึงถึงว่าการเก็บยานั้นถูกต้องหรือไม่ ส่วนไหนของพืชใช้
เป็นยารู้หรือเปล่าดินที่ปลูกพืชสมุนไพรอากาศ เป็นอย่างไร
การเลือกเก็บส่วนที่เป็นยาอย่างถูกวิธีการนั้น จะมีผลอย่างมาก
ต่อประสิทธิภาพของยาที่จะนำมารักษาโรคหากปัจจัยต่างๆ ดังกล่าว
เปลี่ยนแปลงไป ปริมาณตัวยาที่มีอยู่ในสมุนไพรนั้นๆก็จะเปลี่ยนแปลง
ตามไปด้วย ทำให้ยาที่ได้มานั้นไม่เกิดผลดีในการบำบัดรักษาโรคได้เท่าที่ควร
หลักการโดยทั่วไปในการเก็บส่วนของพืชสมุนไพร แบ่งออกได้ดังนี้ »
1.เก็บรากหรือหัว
สมควรเก็บในช่วงเวลาที่พืชหยุดการเจริญเติบโต ใบ ดอก ร่วงหมดแล้ว
หรือในช่วงต้นฤดูหนาวถึงปลายฤดูร้อนเพราะเหตุว่าในช่วงเวลานี้รากและ
หัวมีการสะสมปริมาณตัวยาเอาไว้ค่อนข้างสูง วิธีการเก็บก็จะต้องใช้
วิธีขุดด้วยความระมัดระวังให้มาก อย่าให้รากหรือหัวเกิดการเสียหาย
แตกช้ำหักขาดขึ้นได้รากหรือหัวของพืชสมุนไพรก็มี ข่า กรชาย กระทือ
ขิง เป็นต้น
2.ประเภทใบหรือเก็บทั้งต้น
ควรจะเก็บใบที่เจริญเติบโตมากที่สุด หรือพืชบางอย่างอาจระบุช่วง
เวลาเก็บอย่างชัดเจนเก็บใบอ่อนหรือไม่แก่เกินไป เก็บช่วงดอกหรือบาน
หรือช่วงเวลาที่ดอกบาน เป็นต้นการกำหนดช่วงเวลาที่เก็บใบ
เพราะช่วงเวลานั้น ในใบมีตัวยามากที่สุด วิธีการเก็บก็ใช้วิธีเด็ด
ตัวอย่างเช่น ใบกระเพรา ใบฝรั่ง ใบฟ้าทะลาย เป็นต้น
3.ประเภทเปลือกต้นหรือเปลือกราก
เปลือกต้นโดยมากเก็บช่วงฤดูร้อนต่อกับช่วงฤดูฝน ประมาณยาใน
พืชสมุนไพรมีสูงและลอกออกได้ง่าย สะดวก ในการลอกเปลือกต้นนั้น
อย่าลอกเปลือกออกทั้งรอบต้น เพราจะกระทบกระเทือนในการส่ง
ลำเลียงอาหารของพืชจะทำให้ตายได้ทางที่ดีควรลอกเปลือกกิ่งหรือส่วนที่
เป็นแขน่งย่อย ไม่ควรลอกออกจากล้าต้นใหญ่ของต้นไม้ หรือจะใช้วิธี
ลอกออกในลักษณะครึ่งวงกลมก็ได้ ส่วนเปลือกรากเก็บในช่วงฤดูฝน
เหมาะมากที่สุด เนื่องจากการลอกเปลือกรากเป็นผลเสียต่อการเจริญเติบโต
ของพืชควรสนใจวิธีการเก็บที่เหมาะสมจะดีกว่า
4.ประเภทดอก
โดยทั่วไปเก็บในช่วงดอกเริ่มบาน แต่บางชนิดเก็บในช่วงดอกตูม เช่น กานพลู เป็นต้น
5.ประเภทผลและเมล็ด
พืชสมุนไพรบางอย่างอาจจะเก็บในช่วงที่ผลยังไม่สมบูรณ์หรือยังไม่สุกก็มี
เช่น ฝรั่งเก็บเอาผลอ่อนมาเป็นยาแก้ท้องร่วง แต่โดยทั่วไปมักเก็บเมื่อผล
แก่เต็มที่แล้ว ตัวอย่างเช่น มะแว้ต้น มะแว้งเครือ ดีปลี เมล็ดฟักทอง
เมล็ดชมเห็ดไทย เมล็ดสะแก เป็นต้น
คุณภาพและการรักษา »

คุณภาพของสมุนไพรที่จะใช้รักษาโรคได้ดีหรือไม่นั้น สำคัญอยู่
ที่ช่วงเวลาการเก็บสมุนไพรและวิธีการเก็บ ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่จะต้องคำนึง
อีกอย่างก็คือพื้นดินที่ปลูกพืชสมุนไพร เช่น ลำโพง ควรปลูกในพื้นดินที่
เป็นด่างจะมีปริมาณตัวยาสูง สะระแหน่ หากปลูกในที่ดินทราย ปริมาณ
น้ำมันหอมระเหยสูง และยังมีปัญหาทางด้านสภาพสิ่งแวดล้อมใน
การเจริญเติบโต และภูมิอากาศเป็นต้นสิ่งเหล่านี้ต่างก็มีผลต่อพืชสมุนไพร
ด้วยกันทั้งสิ้นจึงควรพิจารณาให้ดีในเรื่องนี้ด้วย
เก็บพืชสมุนไพรให้ถูกต้อง เหมาะสม ในช่วงเวลาที่สมควรเก็บ
เก็บแล้วจะได้พืชสมุนไพรที่มีปริมาณของตัวยาสูง มีคุณค่า มีสรรพคุณทาง
ยาดีมาก ดีกว่าเก็บในช่วงที่ไม่เหมาะสม


สมุนไพรเพื่อความงาม



สมุนไพรเพื่อความงาม

หากพูดถึง “ความงาม” แล้ว คุณผู้หญิงหรือท่านผู้ชายก็คงจะไม่ปฏิเสธว่าเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน และมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าปัจจัยอื่นในการดำรงชีวิต แต่ถ้าเราจะมองกันไปแล้ว “ความงาม” นั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อตัวของเรามีสุขภาพจิตและสุขภาพกายดี ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียน โดยปกติสุขภาพจะดีมาก-น้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อม การรับประทานอาหาร และการดำรงชีวิตอย่างปกติสุข เมื่อร่างกายกินได้ ถ่ายคล่อง ผิวพรรณดี และสุขภาพแจ่มใส ” ความงาม” ก็จะบังเกิดขึ้นได้อย่างไม่ต้องสงสัย
สมุนไพรเพื่อความงามสำหรับผิวหน้า
ใบหน้า คือ ด่านแรกที่เป็นเสน่ห์ดึงดูดใจของผู้พบเห็น แต่หลายๆคนกำลังประสบปัญหาผิวหน้าไม่เรียบสวย เพราะเม็ดสิวและรอยแห้งกร้านด้วยจุดด่างดำของกระและฝ้า จนต้องเสียเงินทองมากมายเพื่อเข้าสถานเสริมความงาม หรือหาซื้อยามารักษา จึงอยากแนะนำให้ใช้สมุนไพรพืชผักและผลไม้ที่มีอยู่ทั่วไป แต่มีคุณประโยชน์มากมายทั้งวิตามิน แร่ธาตุ และสารบำรุงผิวธรรมชาติที่ช่วยดูแลผิวพรรณให้ชุ่มชื้นผ่องใสอ่อนไวอยู่เสมอ

1. ว่านหางจระเข้ (Aloe indica Royle)
คุณค่าของว่านหางจระเข้มีมากมาย นอกจากใช้รักษาโรคแล้ว ยังใช้บำรุงผิว บำรุงเส้นผมได้ด้วย ปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า มีแชมพูสระผม และเครื่องสำอางหลายอย่าง ที่ใช้ว่านหางจระเข้เป็นส่วนประกอบ และกำลังเป็นที่นิยมของคนทั่วไป เนื่องจากว่านหางจระเข้ มีคุณสมบัติสามารถช่วยให้กระบวนการเมตะโบลิซึม ทำงานได้เป็นปกติ ลดการติดเชื้อ สลายพิษของเชื้อโรค กระตุ้นการเกิดใหม่ ของเนื้อเยื่อส่วนที่ชำรุด ฉะนั้น ว่านหางจระเข้จึงถูกนำมาใช้ เพื่อบำรุงผิวพรรณ ผู้ที่ใช้ว่านหางจระเข้บำรุงผิวพรรณอยู่เป็นประจำ จะรู้สึกได้ชัดว่า ว่านหางจระเข้มีส่วนช่วย ให้ผิวพรรณผุดผ่อง สดชื่น มีน้ำมีนวล และยังสามารถขจัดสิว และลบรอยจุดด่างดำได้ด้วย

การใช้ว่านหางจระเข้ เพื่อบำรุงผิว โดยปอกเปลือกออก ใช้แต่เมือกวุ้นสีขาวใส ที่อยู่ภายใน ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการแพ้ ก่อนใช้ควรตรวจสอบว่า ตนเองจะเกิดอาการแพ้หรือไม่ โดยใช้น้ำที่ได้จากวุ้นสีขาว ของว่านหางจระเข้ ทาตรงบริเวณโคนหู แล้วทิ้งไว้สักครู่ ถ้าเกิดการระคายเคืองเป็นผื่นแดง แสดงว่าแพ้ ไม่เหมาะที่จะใช้กับผิวหน้าอีกต่อไป ถ้าไม่มีอาการแพ้ ก็สามารถใช้ได้ตลอด แต่บางคนก็จะเห็นผลได้เหมือนกัน เมื่อใช้ว่านหางจระเข้ทาบริเวณหัวสิว จะทำให้หัวสิวแห้งเร็ว
นอกจากนี้ ว่านหางจระเข้ยังสามารถลดความแห้งกร้าน และลดความมันของผิวหน้าได้ โดยคนที่มีผิวมัน ก็จะช่วยให้ลดความมัน คนที่มีผิวหน้าแห้ง ก็ยังรักษาความชุ่มชื่นของผิวไว้ได้
2. งา (Sesamum indicum Linn. S. orientle. L)
เป็นพืชล้มลุก ให้เมล็ดเป็นจำนวนมาก เมล็ดงามีทั้งสีดำ และสีขาว ในเมล็ดงามีน้ำมันอยู่ ประมาณ 45-54% น้ำมันงามีกลิ่นหอมน่ารับประทาน วิธีใช้ โดยการนำเอาเมล็ดงาสด มาบีบน้ำมันงาออก โดยไม่ผ่านความร้อน ใช้ทาผิวหนัง เพื่อบำรุงผิวพรรณ ให้ผุดผ่อง ช่วนประทินผิวให้นุ่มนวล ไม่หยาบกร้าน


3. แตงกวา (Cucumis sativas Linn.)
จะมีวิตามินสูง ในผลแตงกวายังมีเอ็นไซม์ cryssin ซึ่งช่วยย่อยโปรตีนได้ เอ็นไซม์ชนิดนี้ จะช่วยย่อยผิวหนังที่หยาบกร้าน ให้หลุดออกไป เพื่อให้ผิวใหม่ที่อ่อนนุ่ม เกิดขึ้นมาแทนที่ บางคนใช้แตงกวาสด ผ่าเป็นชิ้นบางๆ วางบนใบหน้าที่ล้างสะอาด แทนน้ำแตงกวา ปัจจุบัน มีน้ำแตงกวาผสมในเครื่องสำอาง เช่น ครีมล้างหน้า ครีมทาตัว เพื่อช้วยให้ผิวไม่หยาบกร้าน และช่วยสมานผิว แตงกวาเป็นสมุนไพร ที่หาง่าย มีประโยชน์ ราคาถูก ใช้ติดต่อกับเป็นประจำ จะทำให้สวนสดชื่น มีน้ำมีนวล

4. มะเขือเทศ (Lycopersicon esculentum Mill.)
ในมะเขือเทศ จะมีสาร Curotenoid และมีวิตามินหลายชนิด น้ำจากผลมะเขือเทศสุก จะมีสาร licopersioin ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา และแบคทีเรีย และน้ำมะเขือเทศสด นำมาพอกหน้า จะรักษาสิวสมานผิวหน้าให้เต่งตึงหรืออาจจะฝานบางๆ แปะลงบนผิวหน้าก็ได้

5. ขมิ้นชัน (Curcuma Longa Linn.)
ในขมิ้น จะมีสาร Curcumin และมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีกลิ่นเฉพาะ ขมิ้นมีฤทธิ์ยับยั้ง การเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราหลายชนิด ใช้ทาผิวที่มีผดผื่นคัน ผงขมิ้นใช้ทาตัว เพื่อให้มีสีเหลืองทอง ใช้บำรุงผิว และช่วยฆ่าเชื้อ ที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังบางชนิด ได้อีกด้วย

6. น้ำผึ้ง (Apis dorsata)
ได้จากผึ้ง ประกอบด้วยน้ำตาลกลูโคส ฟรุคโตส ขี้ผึ้ง อัลบูมินอยด์ ละอองเกสรดอกไม้ และฮอร์โมนเอสโตรเจน จำนวนเล็กน้อย น้ำผึ้งใช้เป็นส่วนประกอบ ของเครื่องสำอาง ใช้พอกหน้า ทำให้ผิวหน้าชุ่มชื่น เปล่งปลั่งมีน้ำมีนวลขึ้น น้ำผึ้งยังมีคุณสมบัติช่วยสมานผิว น้ำผึ้ง เป็นเครื่องสำอางจากธรรมชาติ ที่ให้ประโยชน์สูง และหาง่าย นอกจากนี้ ยังใช้น้ำผึ้งบำรุงผม ฮอร์โมนเอสโตรเจน จะช่วยบำรุงหนังศีรษะ และกระตุ้นการงอกของเส้นผม

7. มะขามเปียก (Tamarindus indica Linn)
มะขามเปียกมีประวัติการใช้มายาวนาน ช่วยชำระสิ่งสกปรกจากผิวหนัง เพราะฤทธิ์ที่เป็นกรดอ่อนๆ ในมะขาม จะช่วยขจัดสิ่งสกปรกจากผิวหนังได้ดี ปัจจุบัน ได้มีหญิงไทยจำนวนมาก ใช้มะขามเปียกผสมน้ำอุ่น และนมสดให้เข้ากันดี พอกบริเวณผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นรอยด้าน เช่น ตาตุ่ม ข้อศอก ฝ่ามือ ที่มีรอยกร้านดำ และบริเวณรักแร้ ขาหนีบ เพื่อให้ผิวหนังที่เป็นรอยดำจางลง ทำให้ผิวขาวนุ่มนวลขึ้น และนมสดจะช่วยบำรุงผิว ให้นุ่มได้

สมุนไพรเพื่อความงามสำหรับผิวกาย
ผิวกาย จะเปล่งปลั่งนุ่มนวลไร้รอยกร้าน และรอยหมองคล้ำ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อาหารการกิน การออกกำลังกาย และยังมีการถนอมผิว บำรุงผิวอีกหลายๆรูปแบบ สมุนไพรพื้นๆ ที่มีอยู่ทั่วๆไปเอามาใช้บำรุงผิว ซึ่งได้ผลเป็นอย่างดีจึงอยากบอกต่อ รับรองว่าผิวคุณจะสวยขึ้นแน่นอน

สมุนไพรเพื่อความงามสำหรับเส้นผมทรงผม หรือเส้นผม เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพให้ดูดีขึ้นได้ สิ่งที่ควรคำนึงในหารดูแลเส้นผม ได้แก่ อาหารจำพวกโปรตีนที่ได้จากเนื้อ นม ไข่ ฯลฯ และวิตามิน A,C,E,B5 ที่ได้จากผลไม้ต่างๆและธัญพืช จำพวกถั่ว งา ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ฯลฯ


การเก็บรักษาพืชสมุนไพร

                                     


 การเก็บรักษาพืชสมุนไพรและการแปรสภาพ
ในการใช้"พืชสมุนไพร" มาทำเป็นยารักษาโรคต่างๆนั้น แพทย์แผน
โบราณใช้ "พืชสมุนไพร" นี้ได้ทั้งสดๆและตากแห้งแล้วในการใช้ "พืชสมุนไพร"
ขณะที่ยังสดอยู่ เป็นวิธีการที่สะดวกมากใช้ก็ง่ายแต่ฤทธ์ของตัวยาที่มีอยู่
ในพืชสมนุไพรอาจจะไม่คงที่ ในบางครั้งการออกฤทธิ์อาจจะดี
แต่บางครั้งก็ออกฤทธิ์ไม่ดีนัก

"พืชสมุนไพร" ที่ใช้สดๆนั้นมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน เช่น ว่านหางจระเข้
รากหญ้าคา แต่การใช้สมุนไพรส่วนมากนิยมใช้แห้งเพราะจะได้คุณค่าของยาที่คงที่
โดยเลือกเก็บสมุนไพรที่ต้องการตามฤดูกาลเก็บของพืชแล้วนำเอามาแปรสภาพ
โดยผ่านขบวนการที่เหมาะสมเพื่อเก็บยาเอาไว้ได้เป็นเวลานาน

ในการแปรสภาพยาที่เหมาะสมนั้น โดยทั่วไปก็จะต้องนำส่วนที่ใช้เป็นยา
มาผ่านการคัดเลือก ผ่านการล้าง การตัดเป็นชิ้นที่เหมาะสมแล้วใช้ความร้อน
ทำให้แห้งเพื่อสะดวกในการเก็บรักษา
วิธีการแปรสภาพยาสมุนไพรนั้นจะแตกต่างไปตามชนิดของ"พืชสมุนไพร"

ส่วนที่ใช้เป็นยาและความเคยชินของแต่ละท้องที่
วิธีการที่ใช้บ่อยและจะเอาส่วนไหนของพืชที่เป็นยามาใช้ คือ
รากและส่วนที่อยู่ในใต้ดิน
ก่อนอื่นจะต้องคัดเอาขนาดที่พอๆกันเอาไว้ด้วยกันเพื่อจะได้สะดวก
ในการแปรสภาพต่อไปนั้น ต่อจากนั้นก็ล้างดินและสิ่งสกปรกที่ติดอยู่
ให้สะอาดเสียก่อนเอารากฝอยออกไปให้หมด

ถ้าเป็นพืชที่ไม่แข็งนำมาผ่านขบวนการให้ความร้อนตามแต่ ชนิดของพืชนั้นๆ

พืชที่ใช้หัวและรากประกอบด้วยโปรตีน แป้ง เอนไซม์ หากผ่านความร้อน
ตามแบบต้มหรือนึ่งจะทำให้สะดวกในการเอาไปทำให้แห้ง
หลังจากผ่านขบวนการความร้อนแล้ว
นำเอามาตัดเป็นชิ้นๆแล้วอบให้แห้งในอุณหภูมิที่เหมาะสม
การเก็บรักษาพืชสมุนไพร
การเก็บรักษาพืชสมุนไพรเอาไว้เป็นระยะเวลานาน มักจะเกิดการขึ้นรา
หรือเกิดมีหนอน เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะของสี กลิ่น
ทำให้ยาสมุนไพรเสื่อมคุณภาพลงได้ ทำให้ไม่ออกฤทธิ์
ในการบำบัดรักษาโรคได้ เกิดการสูญเสียฤทธิ์ของยาไปเลย ด้วยเหตุนี้เอง
จะต้องมีการเก็บรักษา ที่ดีเพื่อประกันคุณภาพและฤทธิ์การรักษาของยาสมุนไพร
ในการเก็บรักษานั้นควรปฏิบัติดังนี้ »

-ยาที่เก็บรักษาเอาไว้จะต้องทำให้แห้ง เพื่อป้องกันการขึ้นรา
และการเปลี่ยนลักษณะเกิดภาวะ"ออกซิไดซ์" ยาที่ขึ้นราง่าย
จะต้องเอามาตากแดดอยู่เสมอ

-สถานที่ ที่เก็บรักษาจะต้องแห้ง เย็น การถ่ายเทอากาศจะต้องดี
-ควรแบ่งเก็บเป็นสัดเป็นส่วน ยาที่มีพิษ ยาที่มีกลิ่นหอมควรเก็บแยก
เอาไว้อย่างมิดชิดป้องกันการสับสนปะปนกัน

-จะต้องคอยหมั่นดูแลอย่าให้มีหนอน หนู แมลงต่างๆ มารบกวนรวม
ทั้งระวังเรื่องความร้อนไฟ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้

เรื่องของพืชสมุนไพรนั้นมีความสำคัญมากเมื่อนำเอามาใช้ประโยชน์จะต้องรู้เรื่อง
มีความเข้าใจกับพืชที่มีคุณค่าทางยาชนิดนี้เอาไว้เสมอ ท่านจะได้ของดีคือ
สารที่เป็นยาจากพืชที่มีคุณเหล่านี้ต่อไป

ประโยชน์ของสมุนไพรพื้นบ้านไทย

     


                    ประโยชน์ของสมุนไพรไทย 




จะว่าไปคนไทยเราก็โชคดีหนักหนาที่ได้เกิดมาในประเทศไทยซึ่งอุดมไปด้วยสมุนไพร ที่มีประโยชน์กับร่างกาย สามารถนำมารักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราลองไปดูกันเลยครับ

ใบโหระพา ช่วยให้ลำไส้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยรักษาสมดุลของฮอร์โมน

ใบกระเจี๊ยบ ทำให้เลือดสะอาดและไหลเวียนดีขึ้น

ใบกระเพรา ช่วยจัดระเบียบการทำงานของอวัยวะภายใน และปรับสมดุลของร่างกาย

มะกรูด ช่วยจัดการสารที่หลั่งออกมาจากต่อมไขมันใต้ผิวหนังให้สมดุล และมีส่วนช่วยทำให้ผิวหนังเต่งตึง

ขิงสด ช่วยทำให้ร่างกายเย็นลง และทำให้น้ำเหลืองหมุนเวียนดีขึ้น

เปปเปอร์ มินต์ ช่วยในการย่อยอาหาร และรักษาการทำงานของกระเพาะและลำไส้ให้เป็นปกติ

ตะไคร้หอม ทำให้ร่างกายและจิตใจได้ผ่อนคลาย แก้อาการนอนไม่หลับ

ข่า มีสาร anti-oxidation ที่ช่วยทำให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น

ใบแครอท อุดมไปด้วยวิตามินเอ ช่วยป้องกันความแก่ได้

ดอกดาวเรือง ช่วยขับเหงื่อ และทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า

ตะไคร้ ลดความเครียดและทำให้ระบบหมุนเวียนเลือดดีขึ้น

ขมิ้นอ้อย ช่วยเพิ่มพละกำลังให้กับร่างกาย

ใบมะขาม ช่วยในการทำงานของถุงน้ำดี กระตุ้นในการขจัดสารพิษ

ใบเตย ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันต้านไวรัส

ขมิ้น ช่วยในเรื่องระบบประสาท และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของตับ

ใบมะกรูด ช่วยลดความร้อนในร่างกาย และ รักษาความดันเลือดให้เป็นปกติ

ไพล ช่วยคลายความเครียด ลดความตึงของกล้ามเนื้อ และลดปวดตามข้อต่างๆ

กระชาย ช่วยในเรื่องการทำงานของตับ และลดอาการบวมตามร่างกาย

สมุนไพรไทยอาทิ

                                            





สมุนไพรไทย

กรรณิการ์ข่อย มะกล่ำตาหน
กะทกรกคำไทยมะกล่ำเผือก
กระเจี๊ยบคำฝอยมะกอกน้ำ
กระเจี๊ยบมอญคัดเค้าเครือมะขามแขก
กระแจะฉวีวรรณมะขวิด
กฤษณาชะมวงมะตูม
กาสะลองตะแบกนาโมกหลวง
กาสะลองคำตีนเป็ดทะเลระย่อมน้อย
ก้านเหลืองึ้บุนนาคระย่อมหลวง
ขมิ้นชันพะยอมสมอไทย
ขมิ้นต้นพิมเสนต้นสีเสียด
ขี้เหล็กพิกุลหญ้าหนวดแมว